เมนู

2 อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส 1 ความเอื้อเฟื้อด้วย
ธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ 2 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ 2 อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ 10
จบทานวรรคที่ 3

ทานวรรคที่ 3

1

อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 3 สูตร

(ข้อ 386). มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานานิ ความว่า ชื่อว่า ทาน ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมี
ทานเป็นต้นที่เขาให้ บทนี้เป็นชื่อของไทยธรรม อีกอย่างหนึ่ง เจตนา
พร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า ทาน บทนี้เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า
อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย 4 ชื่อว่า อามิสทาน โดยเป็นของให้.
บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กล่าวปฏิปทาเครื่อง
บรรลุอมตะให้ นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

1. วรรคนี้ประกอบด้วยสูตรสั้น ๆ 10 สูตร จึงลงอรรถกถาอธิบายไว้ ติดต่อรวมกันทั้งวรรค
แต่เพื่อความไม่สับสน จึงใส่ข้อบาลีกำกับไว้ในอรรถกถาสูตรด้วย.

อรรถกถาสูตรที่ 2



สูตรที่ 2

(ข้อ 387) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ปัจจัย 4 ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา แม้ธรรมะ ก็พึง
ทราบว่า
ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



สูตรที่ 3

(ข้อ 388) มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้.
การสละอามิส ชื่อว่า อามิสจาคะ การสละธรรม ชื่อว่า
ธรรมจาคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



สูตรที่ 4

(ข้อ 389) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



สูตรที่ 5

(ข้อ 390) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบริโภคปัจจัย 4 ชื่อว่า อามิสโภคะ การบริโภคธรรม ชื่อว่า
ธรรมโภคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



สูตรที่ 6

(ข้อ 391) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ 6